กลอนสุภาพ

กลอนสี่

48879

กลอน 4 แบบที่ 1

กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทรา
ขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่ว
ไสหัวมึงไป

นางจันทาเถียงเล่า
พระองค์เจ้าหลงไหล
ไล่ตีเมียไย
พระไม่ปรานี

เมียผิดสิ่งใด
พระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลี
เหมือนที่ขับไป
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง

กลอน 4 แบบที่ 2

คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O

O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
จักกรีดจักกราย
จักย้ายจักย่อง
ไม่เมินไม่มอง
ไม่หมองไม่หมาง

งามเนื้องามนิ่ม
งามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคาง
ดูปรางดูปรุง

ดั่งดาวดั่งเดือน
ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อย
พิศสร้อยพิศสุง

ช่างปลอดช่างเปรื่อง
ช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่ง
ทรงวุ้งทรงแวง
— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)

กลอนหก

กลอนหก
  ลักษณะคำประพันธ์
 ๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ
          วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง
           วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
 ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

          คำท้ายวรรคสดับ
กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับ
กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครอง
กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่ง
กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

     ๓.  สัมผัส
      ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
      คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
      และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
         สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
      คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข้อสังเกต
     กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค
ทุกบท ทุกตอน
ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
กลอนหก ยกให้ คู่สอง
หาคำ งดงาม ทำนอง
สอดคล้อง ขานรับ จับวาง
หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
อกหัก รักจาก ถากถาง
โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน
ระวัง กลอนพา วารี
น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
ตรวจย้อน อักขระ วิธี
ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู

กลอนแปด

กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์
๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ
     วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง
       วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
          คำท้ายวรรคสดับ
กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับ
กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครอง
กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่ง
กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
 ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข.   สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม
หนึ่งสอง หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด
 – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก
 – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย
….


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น