สาลินีฉันท์๑๑
สาลินีฉันท์ แปลว่า
ฉันท์ที่มากไปด้วยครุซึ่งเปรียบเหมือนแก่นหรือหลัก
รูปแบบการแต่ง
มี 4 วรรค วรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ
แต่งโดยใช้คำครุ (สระ อะ) ลหุ (สระอุ) ในการแต่ง
การสัมผัสจะเป็นคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
(ดูแผนผังประกอบ)
ตัวอย่างสาลินีฉันท์ 11 (1)
เกียจคร้านทำการงาน
บ่มีบ้านจะอาศัย
เกิดมาเป็นคนไทย ฤควรท้อระย่องาน
เกิดมาเป็นคนไทย ฤควรท้อระย่องาน
อินทรวิเชียรฉันท์๑๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ
กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์
หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์
นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด
หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
วสันตดิลกฉันท์๑๔
วสันตดิลก หมายถึง
รอยแต้มที่กลีบเมฆในฤดูฝน น่าจะหมายถึง ฉันท์อันมีลีลาว่าฤดูฝนได้เริ่มต้นแล้ว
คณะและพยางค์
ฉันท์ บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๘ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำรวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ
ฉันท์ บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๘ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำรวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ
สัมผัส มีสัมผัสในบทสองแห่ง
คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓
ของวรรคที่ ๒ และ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบท
สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
คำครุ ลหุ บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด ๑๔
คำ คำลหุ ๑๔ คำ บังคับ ครุ และลหุ
ตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ (1)
เสนออรรถพิพัฒนศุภมง คลลักษณ์ประจักษ์ความ
ครบสี่และมียุบลตาม ชินราชประกาศแสดง
ชาติชายไฉนจะละอุสา หะมิกล้าจะฝึกปรือ
ปราศวิทย์เพราะปราศวิริยะคือ พิณแห้งพินิจเห็น
เสนออรรถพิพัฒนศุภมง คลลักษณ์ประจักษ์ความ
ครบสี่และมียุบลตาม ชินราชประกาศแสดง
ชาติชายไฉนจะละอุสา หะมิกล้าจะฝึกปรือ
ปราศวิทย์เพราะปราศวิริยะคือ พิณแห้งพินิจเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น