กาพย์ยานี๑๑
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ
|
วรรคที่สองเรียกวรรครับ
|
วรรคที่สามเรียกวรรครอง
|
วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
|
แบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี
๑๑
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างกาพย์ยานี๑๑
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
========
สิบเอ็ดบอกความนัย หนึ่งบาทไซร้ของพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนราง จำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลัง ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำ โยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่ง สัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน
วรรคหน้าอย่าเลือนราง จำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลัง ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำ โยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่ง สัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๑. บท บทหนึ่งมี
๗ วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ –
รับ – รอง – ส่ง
ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ
จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๒. สัมผัส
ก.สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก (วรรครอง)
ก.สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก (วรรครอง)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)
ตัวอย่าง
สุรางคนางค์ เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
สัมผัสชัดเจน เป็นบทลำนำ กำหนดจดจำ รู้ร่ำรู้เรียน
สุรางคนางค์ เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
สัมผัสชัดเจน เป็นบทลำนำ กำหนดจดจำ รู้ร่ำรู้เรียน
รู้คิดรู้อ่านรู้ประสบการณ์ รู้งานอ่านเขียน
รู้ทุกข์รู้ยาก รู้พากรู้เพียร ประดุจดวงเทียน ประดับปัญญาฯ
คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง
รู้ทุกข์รู้ยาก รู้พากรู้เพียร ประดุจดวงเทียน ประดับปัญญาฯ
คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง
ข.สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์
แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
สุรางคนางค์
|
|
เจ็ดวรรคจัดวาง
|
วรรคหนึ่งสี่คำ
|
สัมผัส – ชัดเจน
|
เป็นบท
–
ลำนำ
|
กำหนด – จดจำ
|
รู้ร่ำ
–
รู้เรียนฯ
|
ข้อสังเกต
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
กาพย์ฉบัง๑๖
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
๒. สัมผัส
ก.สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง
๑. บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
๒. สัมผัส
ก.สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง
ฉบังสิบหกความหมาย หนึ่งบทเรียงราย
นับได้สิบหกพยางค์
นับได้สิบหกพยางค์
สัมผัสชัดเจนขออ้าง เพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนูได้คิดคำนึง
ให้หนูได้คิดคำนึง
พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่ง สัมผัสรัดตรึง
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ
สุดท้ายวรรคสามงามขำ ร้อยรัดจัดทำ
สัมผัสรัดบทต่อไป
สัมผัสรัดบทต่อไป
บทหนึ่งกับสองว่องไว จงจำนำไป
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น